PRP (Platelet Rich Plasma) คือ เกล็ดเลือดเข้มข้นที่สกัดมาจากเลือดของคนไข้ โดยผ่านกระบวนการแยกพลาสม่าทำให้ได้เกล็ดเลือดที่เข้มข้นที่อุดมไปด้วยโปรตีนที่ช่วยในการฟื้นฟูซ่อมแซมเซลล์ผิวหนัง ช่วยในการกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและคอลาเจน ให้ผิวมีความยืดหยุ่น ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่น รอยดำ รอยแผลเป็นและรอยสิว ทำให้ผิวกลับมามีสุขภาพดี ดูอ่อนเยาว์ขึ้น ข้อดีของการทำ PRP คือการนำเลือดของคนไข้มารักษาผิวของตัวเองทำให้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือแพ้จากการฉีด มีเพียงอาการบวมเพียงเล็กน้อยหลังการฉีด และจะหายบวมภายในไม่กี่วันหลังฉีด
- เกล็ดเลือด มีที่มาอย่างไร
- หน้าที่ของเกล็ดเลือดมีอะไรบ้าง
- สารGrowth Factor ใน PRP
- PRP ช่วยรักษาในเรื่องใด
- PRP เหมาะกับใคร
- ข้อจำกัดของการฉีด PRP
- การเตรียมตัวก่อนฉีด PRP
- ขั้นตอนของการฉีด PRP
- ระยะเวลาที่ใช้ในการฉีด PRP
- การดูแลตัวเองหลังฉีด PRP
- ระยะเวลาพักฟื้น หลังการฉีด PRP
- ระยะเวลาเห็นผล หลังการฉีด PRP
- ผลลัพธ์ที่ได้จากการฉีด PRP
- ข้อดีของการฉีด PRP
- ผลข้างเคียงจาการฉีด PRP
เกล็ดเลือด มีที่มาอย่างไร
1. เลือดของคนประกอบด้วยพลาสม่าเหลว เซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด
2. เกล็ดเลือดคือส่วนที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว มีโปรตีนหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตและรักษาอาการบาดเจ็บ
3. การสกัดเกล็ดเลือดที่เข้มข้นใช้วิธีนำตัวอย่างเลือดมาปั่นเพื่อแยกพลาสม่าที่อุดมไปด้วยเกล็ดเลือดออกจากเลือด
4. เกล็ดเลือดที่เข้มข้นจะนำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ เอ็นอักเสบ ฟื้นฟูผิว ซ่อมแซมผิวหนัง เป็นต้น
หน้าที่ของเกล็ดเลือดมีอะไรบ้าง
เกล็ดเลือดเป็นเซลล์ที่ช่วยในการรักษาเนื้อเยื่อและซ่อมแซมผิวที่เสื่อมสภาพ เกล็ดเลือดเต็มไปด้วยโมเลกุล Growth Factor ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อคุณโดนมีดบาดจะมีเลือดออก จะมีเกล็ดเลือดออกมาเป็นลิ่มหรือเป็นก้อนบริเวณแผลเพื่อช่วยปกปิดและป้องกันแผลจากเชื้อโรคภายนอก นอกจากนี้เกล็ดเลือดยังช่วยซ่อมแซมผิวที่มีบาดแผลหรืออักเสบจากการบาดเจ็บโดยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและสเต็มเซลล์เพื่อซ่อมแซมผิวหนัง เมื่ออายุมากขึ้นผิวหนังจะเกิดการเสื่อมสภาพ เหี่ยวย่น มีโพรงใต้ผิวหนัง ถ้าฉีดเกล็ดเลือดเข้าไปในใต้ผิวหนังจะทำหน้าที่เข้าไปเติมเต็มและยกผิวที่เป็นโพรงที่เป็นสาเหตุของริ้วรอย หลุม และกระตุ้นการสร้างคอลาเจนและเม็ดสีทำให้ผิวเรียบเนียนสม่ำเสมอ
สารGrowth Factor ใน PRP
• Platelet-derived growth factor (PDGF)
• Transforming growth-factor-beta TGF-b)
• Vascular endothelial growth factor (VEGF)
• Epidermal growth factor (EGF)
• Fibroblast growth factor-2 (FGF-2)
• Insulin-like growth factor (IGF)
PRP ช่วยรักษาในเรื่องใด
กระตุ้นการเกิดของเส้นผมใหม่ ช่วยให้ผมดกดำ
การฟื้นฟูและคืนความอ่อนเยาว์ให้ผิวหน้า
• ช่วยให้หน้าใสฉ่ำน้ำ
• เพิ่มคอลลาเจน และความยืดหยุ่นให้กับผิวอีกครั้ง
• นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องหลุมสิว รอยสิว หรือรอยแผลเป็นให้น้อยหรือเล็กลงอีกด้วย
รักษาอาการบาดเจ็บทางร่างกาย
• โรคข้อเข่าเสื่อม
• เอ็นร้อยหวายอักเสบ
• เอ็นหัวไหล่อักเสบ
• เอ็นข้อศอกอักเสบ
• เอ็นบริเวณกระดูกสะบ้าอักเสบ
PRP เหมาะกับใคร
• ปัญหาบริเวณที่มีความยืดหยุ่นน้อย เนื่องจาก Collagen และ Elastin ลดลง
• ปัญหาใต้ตาคล้ำ ร่องแก้ม
• ปัญหาเรื่องริ้วรอย ไม่ว่าจะเป็นผิวหน้าในบริเวณหางตา หน้าผาก ลำคอ
• บริเวณที่มีแผลเป็น
• ปัญหา รอยสิว
• ปัญหา ผิวหน้าแห้ง
• ปัญหามีรอยหลุม ลึก บนใบหน้า
ข้อจำกัดของการฉีด PRP
– ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง, ติดเชื้อ, โรคผิวหนังบางประเภท
– โรคการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
– คนไข้ที่กินยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
– โลหิตจาง
– ตั้งครรภ์
การเตรียมตัวก่อนฉีด PRP
1. ควรนอนพัก ผ่อนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
2. ดื่มน้ำให้มากๆ ประมาณ 2 ลิตร
3. เพื่อผลลัพธ์ที่ดีควรได้รับวิตามินซี 1 อาทิตย์ ก่อนการทำหัตถการ
4. ห้ามรับประทานยา กลุ่ม ASA หรือ NSIAD ก่อน ทำ 2-3 วัน
ขั้นตอนของการฉีด PRP
ระยะเวลาที่ใช้ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
แพทย์ ประเมินใบหน้า ดูตำแหน่งที่ขาดความยืดหยุ่น
การเตรียมใบหน้า
ทำความสะอาดใบหน้าให้สะอาด
ทายาชาบนใบหน้า อย่างน้อย 20-40 นาที หรืออาจมีการฉีดยาชา บางบริเวณ
การเตรียม Pletelet Rich Plasma
เก็บตัวอย่างเลือด ประมาณ 15-20 cc. เพื่อนำเลือดมาทำการสกัดผ่านการใช้เครื่อง Centrifuge เพื่อแยกส่วนของเลือด และน้ำออกจากกันเพื่อที่จะได้
เกล็ดเลือดที่เข้มข้น และสมบูรณ์ที่สุด
เลือดจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
• เกล็ดเลือดที่ไม่เข้มข้น (Pletelet Poor Plasma),
• เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood cell)+ เกล็ดเลือดเข้มข้น (Pletelet Rich Plasma)
• เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell)
Pletelet Rich Plasma ที่ได้จะประมาณ 5-7 มิลลิลิตร ซึ่งจะนำมาฉีดเข้าไปในบริเวณที่ต้องการแก้ไข หรือบางครั้งทำร่วมกับการฉีด Hyarulonic acid ซึ่งจะช่วยให้ ฟื้นฟูผิวหน้า การฉีดนี้ คล้ายกับวิธีการฉีดโบท๊อกหรือฟิลเลอร์ที่ใช้เวลาทำเพียงสั้นๆ และค่อนข้างง่าย
สามารทิ้งตัวพลาสมาไว้ทั้งคืน แล้วล้างออก
ระยะเวลาที่ใช้ในการฉีด PRP
โดยปกติการฉีด PRP ใต้ผิวหนังจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที โดยจะแปะยาชาเป็นเวลา 45 นาที และการฉีด PRP จะใช้เวลา 10-15 นาที
การดูแลตัวเองหลังฉีด PRP
1. ผิวหน้าแน่นและบวมเล็กน้อย อาจมีรอยจุดบวม หรือรอยช้ำประมาณ 3-4 วัน สามารถประคบเย็นได้
2. ห้ามโดนน้ำ 24 ชั่วโมง
3. หลีกเลี่ยง การนวดหน้า แสงแดด ฝุ่นละออง เพราะจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
4. สามารถทาครีมบำรุงได้ตามปกติยกเว้น ครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของ AHA หรือสาร Whitening อื่นๆ
5. หลีกเลี่ยงการล้างหน้าภายใน 4-5 ชั่วโมงแรกของการรักษา
6. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และออกกำลังกายอย่างหนัก
7. ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ทำการรักษา
ระยะเวลาพักฟื้น หลังการฉีด PRP
การพักฟื้นหลังจากทำ PRP Treatment ผิวจะมีอากาบวมเล็กน้อย 2-3 วัน หรืออาจจะมีรอยฟกช้ำเล็กน้อยบริเวณที่ฉีดคล้ายๆกับรอยช้ำจากการฉีดโบท็อกซ์ แต่โดยทั่วไปมักไม่รุนแรงและหายภายในระยะเวลาไม่นาน
ผลลัพธ์ที่ได้จากการฉีด PRP
ในกระบวนการกระตุ้นการสร้างคอลาเจนตามธรรมชาติจะค่อยๆเห็นผลที่ละนิดจากวันที่เริ่มฉีด และจะเห็นผลเต็มที่ภายใน 3 เดือน ควรฉีดซ้ำ 2-3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง 4-6 สัปดาห์เพื่อให้การบำบัดมีประสิทธิภาพเต็มที่ สำหรับผิวที่มีริ้วรอยจำนวนมากและลึกอาจจะต้องฉีดซ้ำ 4-6 ครั้ง โดยจะสามารถอยู่ได้นาน 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง หากคนไข้ฉีดครบคอร์สตามคำแนะนำของแพทย์
ผลลัพธ์ที่ได้จากการฉีด PRP
• ช่วยฟื้นฟูบำรุงสภาพเซลล์ผิว ช่วยให้ใบหน้ากระจ่างใส ผิวพรรณดูอ่อนวัยขึ้น
• ช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมสภาพลงให้กลับมาแข็งแรง มีความยืดหยุ่นดีขึ้น ช่วยให้ผิวตึงกระชับ เรียบ เนียน และอ่อนนุ่มมาก
ข้อดีของการฉีด PRP
1.ไม่มีสเตอรอยด์ ไม่มีอาการแพ้ และไม่มีผลข้างเคียง
2.เป็นเทคโนโลยีที่ปลอดภัย ได้รับการรับรองทางการแพทย์ ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย
3.ช่วยลดอาการอักเสบ และฟื้นฟูอาการบาดเจ็บได้
4.ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเลือด เนื่องจากเป็นเลือดของผู้ป่วยเอง และแยกทำรายบุคคล
ข้อดีของการฉีด PRP
สำหรับผลข้างเคียงที่อาจจะพบได้ ที่สำคัญที่สุด คือ การติดเชื้อ เพราะมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเจาะเลือด ดูดใส่ขวดและดูดกลับมาฉีด ปกติถ้าเป็นเซ็ตที่ต่างประเทศพัฒนามานั้นต้องใช้หลอดพิเศษ แต่หลอดที่เราใช้เจาะเลือดปกติ ไม่ได้ถูกออกแบบให้ดูดเลือดกลับมาใช้ได้ การที่คลินิกที่มีผู้ใช้บริการมาก ๆ ต้องระวังการสลับเอาเลือดคนอื่นที่ไม่ทราบว่าอาจเป็นพาหะของโรคต่าง ๆ เช่น เอดส์ ไวรัสตับอักเสบบี
ส่วนผลข้างเคียงอื่นถ้าคลินิกใช้สารอื่นผสมอาจจะเกิดการแพ้สารที่ใส่ลงไป เพราะขณะนี้สารที่ผสมเพื่อทำการรักษาแบบฉีดใต้ผิวหนัง ที่เรียกว่า เมโซเทอราปี (mesotherapy) ซึ่งยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีรายงานทั้งในและต่างประเทศว่าผู้ที่ทำการรักษาวิธีนี้แล้วมีการติดเชื้อ atypical mycobacteria ซึ่งปนกับสารที่ไม่ได้มาตรฐาน บางครั้งการรักษาแบบนี้ บางคนได้ผลและบางคนไม่ได้ผล ทำให้เสียเงินและเจ็บตัวอีกด้วย