ฟิลเลอร์เน่า
ช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมามีรายงานว่าฉีดฟิลเลอร์และทำให้เกิดผลข้างเคียงเยอะ ได้แก่ ตาบอด จมูกเน่า ผิวหนังตายซึ่งทำให้คนจำนวนมากเกิดกลัว มีมาตั้งแต่ยุคฉีดฟิลเลอร์ยุคแรกๆ จึงสรุปได้ง่ายๆ หลังจากที่ฉีดจะต้องสังเกตตัวเอง เพราะเมื่อเกิดการอุดตันหลอดเลือดดำ ผิวหนังจะค่อนข้างแดงหรือคล้ำ สีผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ไม่ใช้สีซีดเหมือนอุดตันหลอดเลือดแดง
หากเกิดผลข้างเคียงแนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที ไม่ว่าจะเวลาใด เพื่อทำการแก้ไข ณ ตอนนั้นทันที และผลข้างเคียงอีกเรื่องหนึ่งคือ การติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อมักจะเกิดขึ้น 3 – 7 วันหลังจากที่ฉีด การติดเชื้อลักษณะจะบวม ช้ำ หรือเป็นหนอง
ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้ในทางการแพทย์จะให้ ทานยาปฏิชีวนะ และยาลดบวม โอกาสในการติดเชื้อก็จะลดน้อยลงพอสมควร แต่ในกรณีที่ดื้อยา จะมีการทานยาปฏิชีวนะเพิ่มมากกว่า 1 ตัว นอกจากนี้ก็ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น ผิวหนังเขียว ช้ำ บวม แดง ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดได้ปกติหลังจากการที่ฉีดฟิลเลอร์หรือการทำหัตถการทางการแพทย์อยู่แล้ว โดยจะหายเองภายประมาณ 1 – 2 สัปดาห์
อันตรายจากฟิลเลอร์
- – เนื้อตาย เนื้อตายนั้นเกิดจากการอุดตันในเส้นเลือด (necrosis) ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ หรือการเติมไขมัน (Transplanted fat)
แต่หากเป็นฟิลเลอร์ HA (Hyaluronic Acid) ที่เป็นของแท้ หมอสามารถตรวจพบการอุดตันในเส้นเลือดได้จากการเปลี่ยนแปลงของสีผิวขณะฉีดและหลังฉีด และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีเนื่องจาก ฟิลเลอร์(Hyaluronic Acid) นั้นสามารถฉีดสลายได้โดย เอนไซม์ที่ชื่อ Hyaluronidase สามารถละลายหมดได้ 100% ทำให้รักษาให้เนื้อกลับคืนมาได้ 100% - ตาบอด(blindness) พบได้ในการเติมไขมัน(Transplanted fat) มากที่สุด
แต่หากฉีดฟิลเลอร์ด้วย Hyaluronic Acid โดยแพทย์ที่ฉีดด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง (ตามที่จะอธิบายต่อไปนี้) ความเสี่ยงในการเกิดตาบอด ก็จะน้อยมากๆ - แพ้บวมแดง(reaction,granuloma)
- การอักเสบติดเชื้อ(infection) ขึ้นอยู่กับเทคนิคการฉีดของแพทย์แต่ละคลินิก และพบได้บ่อยในเคสที่ฉีดโดยหมอกระเป๋า หรือคลินิกเถื่อน
- การย้อยเป็นก้อนแข็ง(migration) ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม แข็ง ย่อยสลายไม่หมด หรือไม่สามารถย่อยสลายได้
จะรู้ได้อย่างไร ว่าฟิลเลอร์จากไหนของแท้ หรือของปลอม
ในการจำหน่ายฟิลเลอร์ทาง Internet จะมีค่อนข้างและราคาถูก โดยปกติแล้วบริษัท ที่จะนำเข้าฟิลเลอร์หรือยา ซึ่งฟิลเลอร์ถูกขึ้นทะเบียนเป็นยาจะเข้ามาได้จะต้องขออนุญาตจากทางองค์การอาหารและยาในการนำเข้า ซึ่งกระบวนขออนุญาตเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย จะต้องขอเอกสารจากทางบริษัทผู้ผลิตค่อนข้างเยอะ และเอกสารต้องประทับตรารับรองที่สถานฑูตภายในประเทศนั้นๆ มีเอกสารยังไม่พอ
ฟิลเลอร์ที่จะเข้ามาขายในประเทศไทย จะต้องผ่านการทดลอง ทดสอบ ทางห้องแลปขององค์การอาหารและยาอีกจำนวนหลายปี เพราะฉะนั้นจะต้องมีการพิจารณาถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ฟิลเลอร์ปลอมไม่สามารถที่จะคาดเดาได้
ดังนั้นเเล้ว หากคนไข้ที่ทำการรักษาด้วยฟิลเลอร์ จะต้องศึกษาข้องมูลของเเพทย์ ดูความน่าเชื่อถือของคลินิก เเละขอตรวจสอบฟิลเลอร์ที่ทางคลินิกใช้ในการรักษาได้ โดยเเต่ละยี่ห้อจะมีเบอร์ติดต่อไปทางบริษัทตัวยา ที่สามารถของตรวจสอบเลข lot ได้