อีกหนึ่งวิธีการรักษา หลุมสิว ในสิวระดับทั่วไป ที่มีระดับที่ตื้นถึงลึกปานกลาง การเติมเต็ม หลุมสิว ด้วยฟิลเลอร์ คือการใช้ “สารเติมเต็ม” ฉีดเพื่อรักษา หลุมสิว ให้ตื้นขึ้น
โดยสารที่นิยมนำมาใช้กันมากก็คือ ไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic Acid)เนื่องจากจะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้น้อยกว่าคอลลาเจน
ส่วนใหญ่แล้วการรักษา หลุมสิว ด้วยวิธีนี้จะค่อนข้างได้ผลประมาณ 30-70% เลย เพราะมันเป็นการฉีดสารเข้าไปเพื่อเติมเต็มรอย หลุมสิว ในทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาเอง
แต่การฉีด 1 ครั้งจะอยู่ได้ประมาณ 12-18 เดือน ตามอายุของฟิลเลอร์ เพราะ ฟิลเลอร์นั้นเป็นสารที่สามารถเสื่อมสลายไปได้เอง
การ ฉีดฟิลเลอร์ เพื่อรักษา หลุมสิว เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ปลอดภัย แต่สามารถอยู่ได้แค่ชั่วคราว และค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง ราคาก็จะเพิ่มขึ้นไปความลึกและบริเวณกว้างของ หลุมสิว
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหา หลุมสิว และ การรักษา หลุมสิว
หลุมสิว-คืออะไร
หลุมสิว เกิดจาก สิวอักเสบ สิวหัวช้าง ซึ่งเกิดขึ้นนาน และไม่ได้รับการรักษาสิวที่ถูกวิธี จึงทำให้เกิดโพรงหนอง เกิดการยุบตัวของผิว ลุกลามจนกินพื้นที่ลึกลงไปถึงเนื้อใน และเกิดพังผืดขึ้นใต้รอยแผลเป็น ถึงขั้นทำให้เนื้อหายจนกลายเป็น หลุมสิว ลึกในที่สุด
สาเหตุของหลุมสิวบนใบหน้า
หลุมสิว เกิดจากแผลเป็นจากสิว อาจเป็นแค่หลุมเล็กๆ ผิวขรุขระ ไม่เรียบเนียน จนถึงเป็นมาก เนื้อเยื่อบริเวณที่เคยมีหัวสิวอักเสบยุบลง จนกลายเป็นหลุมแผลเป็นทิ้งไว้
โดยสิวที่อักเสบจะมีทั้งเชื้อแบคทีเรียและหนองอยู่ภายใน ซึ่งขบวนการอักเสบจะก่อให้เกิดเอ็นไซม์ ที่ทำร้ายผิวโดยทำให้คอลลาเจนและเนื้อเยื่อโดยรอบถูกทำลาย ถ้าสิวเม็ดไม่ใหญ่นักก็จะทิ้งแผลเป็นขนาดเล็ก ถ้าสิวเม็ดใหญ่โดยเฉพาะสิวหัวช้างก็จะลงลึกถึงชั้นผิวหนังชั้นใน เกิดเป็น หลุมสิว ลึกและผังผืดตามมา
การรักษาแผลเป็นจากสิวที่ดีที่สุด คือเริ่มรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นใหม่ๆ ช่วงที่เป็นใหม่ๆ ผังผืดโดยรอบไม่แข็งมาก การรักษาจะได้ผลดีกว่าที่ทิ้งไว้จนกลายเป็นแผลเก่า
การป้องกันการเกิดแผลเป็นจากสิวก็คือ การหมั่นทายารักษาสิวอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง เพื่อรักษาสิวให้หายเร็วๆ และป้องกันสิวใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น
ส่วนแผลเป็นสิวที่เกิดจากการแกะเกาของเจ้าของเอง ก็พบบ่อยๆ ป้องกันได้โดยห้ามแกะสิวเอง ถ้ารู้สึกคันบนใบหน้าควรพบแพทย์รักษาให้ผิวหายอักเสบ อาการคันก็จะหายไป
ระดับความรุนแรงของหลุมสิว
• Icepick Scar (ระดับรุนแรงที่สุด) : รอยหลุมแคบ ขอบชัด ฐานหลุมมักเรียวแหลมลึกลงไปถึงชั้นหนังแท้หรือชั้นใต้ผิวหนัง จึงเป็นรอยหลุม การรักษา หลุมสิว ระดับนี้ยากและต้องใช้เวลานานที่สุด
• Box Scar (ระดับรุนแรงปานกลาง) : รอยหลุมชนิดนี้มีขอบชัดเจนและมีขนาดกว้างกว่า Icepick Scar แต่มีความตื้นของฐานหลุมน้อยกว่า เพราะความลึกแค่ชั้นผิว ไม่ถึงชั้นรูขุมขน
• Rolling scar (ระดับทั่วไป) : รอยหลุมชนิดนี้จะมีลักษณะเป็น หลุมสิว แบบตื้น ความลึกของหลุมแค่ส่วนบนของผิวเพียงเล็กน้อย การรักษา หลุมสิว ระดับนี้ง่ายกว่าระดับอื่นๆ
สิ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดหลุมสิว
1. ล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นประมาณวันละ 1-2 ครั้ง โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่ถนอมผิว และหลีกเลี่ยงการสครับผิวหน้าบ่อยเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งเสีย
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะทำให้เกิดไขมันสะสมใต้ผิวหนัง จนทำให้เกิดการอุดตันหรืออักเสบ
3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว (กลุ่มมอยส์เจอไรเซอร์) เพื่อป้องกันปัญหาผิวแห้ง นอกจากนี้อาจเลือกเครื่องสำอางที่ฉลากผลิตภัณฑ์ระบุว่า “Non-Comedogenic” หรือไม่ทำให้เกิดสิวอุดตัน
4. ทาครีมกันแดดทุกวัน และหลีกเลี่ยงการออกไปสัมผัสแดดจ้าตรงๆ เพื่อให้ผิวคงความนุ่มนวลไว้ ไม่แห้งเสียจนเกิดสิว
5. หลีกเลี่ยงการแคะ แกะ เกา บีบ ลูบหน้า หรือเช็ดหน้าแรงๆ เนื่องจากสิ่งสกปรกบนมืออาจทำให้เกิดสิว และอาจทำให้เกิดการอักเสบในขณะเป็นสิวได้
สรุป
การรักษาสิวที่ผิดวิธีสามารถนำมาสู่การเกิดรอยแผลเป็น หลุมสิว นับว่าเป็นปัญหากวนใจของคนที่ปล่อยให้สิวอักเสบมันลุกลามจนกินพื้นที่ลึกลงไปถึงเนื้อใน การเติมฟิลเลอร์ช่วยให้รอยสิวนั้นตื้นขึ้นได้ แต่อยู่ได้เพียงชั่วคราว การรักษาสิวให้ถูกวิธี ไม่ปล่อยให้เกิดรอย หลุมสิว ที่รุนแรงจึงเป็นวิธีการแก้ที่ต้นเหตุที่ดีที่สุด