fbpx

ล้างสารพิษด้วยการทำเคลีชั่น

ในปัจจุบันหลายคนอาจไม่ทราบว่าเรากำลังเผชิญกับภัยอันตายที่มีต่อสุขภาพ​ เพราะสิ่งต่างๆรอบตัวเราล้วนเต็มไปด้วยโลหะหนัก ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย

โลหะหนักก็คือ เครื่องสำอาง ลิปสติกที่สาวๆใช้ในชีวิตประจำวัน อาหารทะเล อาหารกระป๋องและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนของเสียหรือพบการปนเปื้อนของสารหนู  

แม้กระทั่ง ณ เวลานี้ที่เราต้องเผชิญกับฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดมาจากไอเสียของรถยนต์ การใช้ฟืนหุงต้ม การเผาขยะและการเผาเชื้อเพลิงในโรงงานและอุตสาหกรรม แน่นอนว่าถ้าหากร่างกายเราได้รับสารโลหะหนัก เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก 

ถ้าหากร่างกายเราได้รับสาร โลหะหนักเข้ามากๆ จะมีอาการเริ่มต้น อย่างเช่น นอนไม่หลับ ง่วงนอน อ่อนเพลียได้ง่าย สมาธิสั้น ความจำไม่ดี ปวดศีรษะบ่อย หงุดหงิด ปวดเมื่อยหลัง ไหล่และคอ  จนไปถึงทำให้เราหน้าตาหมองคล้ำ ผิวพรรณหยาบกร้าน เป็นภูมิแพ้ โรคผิวหนังเรื้อรัง มีผื่นคันตามตัว เป็นแผลและเป็นฝีบ่อยๆ 

และยังส่งผลทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็ง

เมื่อร่างกายเรามีโอกาสรับสาร โลหะหนัก ตลอดเวลาแบบนี้ ปริมาณโลหะหนักในเลือดจึงอาจมีสูงจนร่างกายไม่สามารถขจัดออกไปได้หมดตามกลไกของธรรมชาติ  

ปัจจุบันมีวิธีการที่เรียกว่าได้ผลดีที่สุดในการขจัดสารโลหะหนักออกจากเลือด ถือว่าเป็นการ ล้างสารพิษ ออกจากเลือดและช่วยฟื้นฟูหลอดเลือด เรียกว่า คีเลชั่น (Chelation) 

คีเลชั่น คือ การล้างสารพิษ และโลหะหนักในหลอดเลือดเพื่อฟื้นฟูปรับสมดุลแก่ร่างกาย คือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดที่มีสารประกอบประเภทกรดอะมิโนที่เรียกว่า EDTA ผสมกับวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่ง EDTA ทำหน้าที่สำคัญในการจับสารโลหะหนัก

หลายคนน่าจะคุ้นเคยหรือรู้จัก ดีท็อกซ์ ที่เป็นการล้างสารพิษออกจากลำไส้ คีเลชั่นที่ว่านี้ก็เป็นการ ล้างพิษ ที่เป็นสารโลหะหนักออกจากเลือดหรือร่างกายนั่นเอง

การทำงานของ คีเลชั่น คือ EDTA จะไปเข้าจับกับสารพิษโลหะหนักต่างๆ ที่สะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย จากนั้นจะถูกกำจัดออกทางไตในรูปแบบของปัสสาวะ โดยไม่มีการสะสมหรือตกค้างภายในร่างกาย หมดไปจากร่างกายภายใน 24 ชั่วโมงหลังทำ

การทำคีเลชั่น สามารถทำได้บ่อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน โดยปกติจะทำประมาณ 10 – 20 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ เนื่องจากต้องมีการควบคุมปริมาณยาให้เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม การทำคีเลชั่นจะต้องปรึกษาแพทย์ บอกอาการหรือโรคประจำตัว  เพราะมีข้อจำกัดห้ามหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่แพ้สาร EDTA  หรือผู้ที่มีการทำงานของไตเสื่อมรุนแรง ทั้งนี้ควรเลือกทำกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น